กระทงผี

ควันหลง ‘กระทงผี’ ความเชื่อของประเพณีไหว้ผีของบาหลี

หัวข้อน่าสนใจ

ช่วงประเพณีลอยกระทงอย่างนี้ก็คงก็มีแต่เรื่องดี ๆ แต่เราชาว Ghostsfolder ของเราในวันนี้จะมาเล่าเรื่องของ กระทงผี หรือ Canang Sari (ชานัง ซารี) สัญลักษณ์บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากหมู่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จะมาเรื่องราวอย่างไรบ้าง ตามไปสำรวจพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ที่มาของกระทงผีบาหลี อินโดนีเซีย

อย่างที่ทราบกันดีว่า หมู่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีเก่าแก่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าโลกจะก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรความเชื่อและความศรัทธาของชาวบาหลีได้เลย และหนึ่งในวัฒนธรรมหรือพิธีโบราณที่เราจะสามารถเห็นได้ในทุกเช้าของคนในเกาะนั่นคือการ ‘นั่งทำกระทง’

ที่มาของกระทงผีบาหลี อินโดนีเซีย
ที่มาของกระทงผีบาหลี อินโดนีเซีย

โดยกระทงนี้เรียกกันว่า Canang Sari (ชานัง ซารี) หรือที่ใครหลาย ๆ คนเรียกกันว่ากระทงผี เป็นสัญลักษณ์ในการเคารพและบูชาของชาวบาหลี ในทุกเช้าของทุกวัน ผู้หญิงทุกบ้านมักจะทำกระทงเป็นกันทุกคน และใช้เวลาทำกระทงหนึ่งราว ๆ 2 -3 นาทีเท่านั้น แต่ละวันต้องทำไม่ต่ำกว่า 10 กระทง  บางบ้านครอบครัวใหญ่ทำกันวันละเป็นร้อยกระทงเลยก็มี

นั่นเพราะจุดที่เขาจะวางกระทงนั้นคือ ทุกมุมในบ้าน ไม่ใช่แค่ที่ศาลพระภูมิในบ้าน รูปปั้น ลานโล่ง ตามทางเดินและหน้าประตูเข้าบ้านเท่านั้น แต่ยังวางในห้องครัว ห้องนอน ตามร้านค้าก็จะวางไว้บริเวณหน้าร้าน บนถนน นั่นเป็นเหตุผลให้บาหลีคือ เกาะที่ทุกที่มีกระทง และทุกเช้าชาวบาหลีจะทำกระทง และเดินนำไปวางตามจุดต่าง ๆ ในบริเวณบ้าน หากใครไม่อยากทำ สมัยนี้ในตลาดทุกแห่งของบาหลีจึงมีกระทงสำเร็จรูปขายด้วย

กระทงผี เป็นสัญลักษณ์ในการเคารพและบูชาของชาวบาหลี
กระทงผี เป็นสัญลักษณ์ในการเคารพและบูชาของชาวบาหลี

ลักษณะของกระทงผี Canang Sari (ชานัง ซารี)

ลักษณะของชานังซารี จะเป็นการนำใบปาล์ม ใบมะพร้าวหรือส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวมาทำ โดยนำใบมาพับเป็นทรงกระทง เอาดอกไม้ 5 สีมาเรียงในกระทง โดยวางสีเขียวไว้ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยสีส้ม ถ้าไม่มี ให้ใช้สีเหลืองแทนวางด้านซ้าย สีม่วงหรือถ้าไม่มี ให้ใช้ดอกไม้สีน้ำเงินวางด้านบน สีชมพูหรือใช้สีขาวแทนได้วางด้านขวาของกระทง และสีแดงวางด้านล่าง ซึ่งดอกไม้เหล่านี้นั้นใช้สำหรับบูชาเทพองค์ต่าง ๆ ที่ชาวบาหลีนับถือ เช่น พระพรม พระศิวะ พระนารายณ์ พระอิศวร พระวิษณุ

ลักษณะของกระทงผี Canang Sari (ชานัง ซารี)
ลักษณะของกระทงผี Canang Sari (ชานัง ซารี)

นอกจากนี้ยังใส่ ข้าวสาร ธูป ใส่แล้ววางทั่วไปหมดเห็นได้ทุกที่ กฎสำคัญคือห้ามไปเหยียบกระทงพวกนี้เด็ดขาด แต่ก็มีคนเคยมีประสบการณ์ลองดีกับกระทงผีมาแล้ว ด้วยการจงใจไปเหยียบกระทง

ประสบการณ์หลอน กระทงผีมีอยู่จริง

เรื่องราวของคุณหนูฝน จากเดอะโกสต์เรดิโอ เล่าว่าเธอไปเที่ยวบาหลีกับแฟนและเพื่อนช่วงปี 2564 ซึ่งคุณหนูฝนเป็นคนไทยคนเดียวในกลุ่ม ทุกคนก็เจอกระทงเซ่นผีตามถนนซึ่งมีเยอะมาก แต่แล้วก็มีเพื่อนของเธอเผลอเดินเหยียบโดนกระทงพวกนี้ เลยบอกให้เพื่อนขอโทษ แต่เพื่อนก็บอกว่าจะขอโทษทำไม คุณหนูฝนเลยได้แต่พึมพำขอโทษแทนในใจเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นทุกคนก็ไปกินข้าวกินเหล้ากันที่ร้าน แล้วแฟนคุณหนูฝนก็เผลอเหยียบกระทง เพื่อนอีกคนเลยรีบทัก

“ยูเหยียบผีอะ ระวังผีมาหลอกนะ” เพื่อนพูดแล้วก็ขำกัน แฟนคุณหนูฝนพอได้ยินก็บอก “อ๋อ ผีใช่มั้ย ได้เลย!” แล้วก็เดินไล่เหยียบกระทงเพิ่มทีละอัน! ทุกคนก็หัวเราะกัน ส่วนคุณหนูฝนก็ได้แต่พึมพำในใจขอโทษแทน คืนนั้นทุกคนก็แยกย้ายกันไปนอนที่ห้องตัวเอง คุณหนูฝนก็ไปนอนคู่กับแฟน จนกระทั่ง.. สามารถติดตามฟังได้ที่

อย่างไรก็ตาม Canang Sari (ชานัง ซารี) หรือกระทงผี ไม่ได้เป็นแค่เครื่องบูชาตามความเชื่ออย่างเดียวอย่างที่ใครหลายคนบอก แต่จริง ๆ แล้ว กระทงเหล่านี้มีไว้เพื่อบูชาเทพองค์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเคารพ รวมไปถึงผีสางอีกด้วย  ซึ่งชาวบาหลีเชื่อกันว่า การบูชาเทพเจ้าทุกวันแบบนี้จะทำให้เกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นในชีวิต และเชื่อว่าหากไม่ทำเทพเจ้าจะลงโทษ