ขวัญเอยขวัญมา พิธีเรียกขวัญ กับความเชื่อชาวอีสาน

ขวัญเอยขวัญมา พิธีเรียกขวัญ กับความเชื่อชาวอีสาน

หัวข้อน่าสนใจ

  “ขวัญเอยขวัญมา” ประโยคที่เรามักได้ยินผู้ใหญ่ใช้ปลอบโยนเด็กน้อยที่กำลังร้องไห้งอแง หรือถ้าโตขึ้นมาแล้ว ก็เป็นหนึ่งในพิธีที่เราส่วนใหญ่จะรู้จัก และเคยผ่านกันมาบ้างสักครั้งในชีวิต โดยเฉพาะสำหรับผู้คนในแถบภาคอีสานแล้ว นับว่าเป็นหนึ่งในพิธีสำคัญแทบจะอยู่ในทุกๆ ช่วงชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นเราไปทำความรู้จักพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของคนอีสานกัน

ที่มาของ “ขวัญ” สิ่งสำคัญในชีวิต

ที่มาของ "ขวัญ" สิ่งสำคัญในชีวิต
ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดมาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่าขวัญกันโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมีชีวิตก็ตาม

ก่อนจะเข้าสู่พิธี เรามารู้จักกันก่อนดีกว่า ตามความเชื่อของชาวไทยในท้องถิ่นแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดมาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่าขวัญกันโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมีชีวิตก็ตาม ซึ่งก็ไม่มีรูปร่างลักษณะให้เห็นเด่นชัด จับต้องไม่ได้ จะคอยตามติดตัวเจ้าของ คอยพิทักษ์รักษา และดูแลประคับประคองชีวิตไปตลอดจนหมดสิ้นอายุขัย สามารถอยู่ตรงจุดไหนของร่างกายเราก็ได้ แต่เชื่อกันว่าจุดที่ขวัญมักจะอยู่มากที่สุด คือตำแหน่ง “จอมขวัญ”

แม้จะอยู่กับเราตลอดเวลา แต่ก็สามารถหลบลี้หนีหน้า

หายไปจากเราได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเด็กๆ ที่มักตื่นเต้นตกใจง่าย และหนีกระเจิดกระเจิงไป จนหายตกใจก็จะกลับมาสู่ร่างอย่างเดิม จนกระทั่งเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะมีความมั่งคง มีสติอารมณ์ที่ดีขึ้นไปตามวัยของเจ้าของ

แม้จะอยู่กับเราตลอดเวลา แต่ก็สามารถหลบลี้หนีหน้า
แม้จะอยู่กับเราตลอดเวลา แต่ก็สามารถหลบลี้หนีหน้า

ทีนี้ก็ไม่ใช่ว่ายิ่งโตแล้วกายทิพย์หรือร่างจะกล้าแกร่งเสมอไป บางคนเมื่อเจอเหตุสะเทือนใจทางอารมณ์มากๆ ไม่ว่าจะเพราะเจออุบัติเหตุ เจอเหตุการณ์ผิดหวังรุงแรงในชีวิต หรือเสียใจจากอะไรก็ตามก็สามารถหลุดหายไปได้เช่นกัน อันเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หายจากอาการเจ็บป่วยช้า ใจเหม่อลอยไม่มีสติ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เรียกว่าอาการ “ขวัญหาย” และจำเป็นจะต้องจัดพิธีเรียกกลับมา อันเป็นที่มาของพิธีส่อนขวัญ นั่นเองค่ะ

อันที่จริงแล้วยังมีพิธีที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย และมีเกือบจะทุกช่วงเวลาของชีวิตคน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้กับเด็กแรกเกิด วันโกนจุก ทำขวัญนาค งานแต่งงาน การสร้างบ้านปลูกเรือน การยกเสาเอก เป็นต้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการทำของสัตว์ หรือสิ่งอื่นๆ อยู่ใกล้ชิดกับเราด้วย เช่นการทำวัว ควาย ช้าง ไร่นา ข้าว เสา ทำขวัญเรือน เป็นต้น

พิธีเรียกขวัญ
ทางภาคอีสานเขาก็จะมีการทำพิธีส่อนขวัญ (ส่อน แปลว่า ตักขึ้น ช้อนขึ้น)

หากใครสักคนเกิดขวัญหายขึ้นมาจะทำอย่างไร ทางภาคอีสานเขาก็จะมีการทำพิธีส่อนขวัญ (ส่อน แปลว่า ตักขึ้น ช้อนขึ้น)  ซึ่งจัดเป็นธรรมเนียมท้องถิ่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนา จะทำขึ้นในกรณีที่มีคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเกิดอุบัติเหตุ หรือเรื่องสะเทือนใจบางอย่าง โดยต้องไปทำพิธี ณ บริเวณจุดเกิดเหตุ หรือที่คิดว่ากายทิพย์เราไปตกอยู่ แล้วจะเชิญกลับไปอยู่กับเจ้าของร่างที่บ้าน ถึงจะทำให้อาการเจ็บไข้ได้ป่วยดีขึ้น หรือหายเป็นปกติ

อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีเรียกขวัญ ประกอบด้วย

  1. สวิง หรือ หิง (อุปกรณ์สำหรับช้อนสัตว์น้ำขนาดเล็ก)
  2. กรวยดอกไม้สีขาว และเทียน 2 เล่ม
  3. อาหาร ขนม ผลไม้ และน้ำดื่ม

จากนั้น ผู้ทำพิธีจะนำกรวยดอกไม้ เทียน และกรวยใส่อาหารไปวางไว้ นำสวิงไปเดินช้อนขวัญบริเวณนั้น พร้อมกับพูดเชิญให้กลับมาที่บ้าน และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือให้พาญาติสนิท สามี ภรรยา หรือลูกของคนที่เราไปเรียกด้วยไปด้วย เช่น ไปร้องเรียกชื่อคนๆนั้น บอกให้กลับบ้าน กลับมาอยู่กับตัว เป็นต้น ตามความเชื่อหากได้ยินจะดีใจ และรีบกลับมาเมื่อเห็นญาติมาเรียก

อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีเรียกขวัญ
ผู้ทำพิธีจะนำกรวยดอกไม้ เทียน และกรวยใส่อาหารไปวางไว้ นำสวิงไปเดินช้อนขวัญบริเวณนั้น พร้อมกับพูดเชิญให้กลับมาที่บ้าน

เมื่อเทียบกับส่อนขวัญแล้ว พิธีนี้ดูจะเป็นอะไรที่เราคุ้นเคยกันมากกว่า เพราะยามเราก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยก็ต้องผ่านพิธีนี้เป็นลำดับแรกๆ ซึ่งจะต่างกันตรงที่จะทำกันในสถานที่หนึ่งๆ และจะต้องมีการจัดบายศรี เป็นเครื่องอันเชิญด้วยนั่นเองค่ะ

ทำบายศรี หรือเรียกอีกอย่างว่า เครื่องสังเวย

บายศรี ทำด้วยใบตอง รูปร่างคล้ายกระทงเป็นชั้น ๆ ขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรี และมีไข่ต้ม เสียบอยู่บนยอด ซึ่งจะพันสายสิญจน์ไว้โดยรอบเพื่อใช้ผูกข้อมือผ โดยมีผู้นำทำพิธีเรียกว่า หมอทำขวัญ เชื่อว่าถ้าทพิธีนี้จะช่วยทำให้เกิดมงคล มีความสุขราบรื่น เกิดโชคลาภ ช่วยสร้างกำลังใจที่ดีขึ้นนั่นเอง

สามารถติดตามเรื่องราวของความสยองขวัญทุกรูปแบบได้ที่ ghostsfolder.com