มนุษย์ชาติมีการอยู่ร่วมกันต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อมีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่ ย่อมมีการเกิดปัญหาและความไม่ราบรื่น ในการดําเนินชีวิตบางโอกาสต้องพึ่งคน บางโอกาสก็อาจจะพึ่งสิ่งที่เป็นธรรมชาติ หรือบางโอกาสต้องพึ่งสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
ต่อมามนุษย์จึงเป็นเหตุให้เกิดความเชื่อผีสาง นางไม้ เทวดา มีการบูชา อ้อนวอน จึงพยายามที่จะคิดหาวิธีการที่ทำให้เกิดผลในทางที่ดี จึงเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมหรือศาสนาเกิดขึ้น ได้สร้างสัญลักษณ์แทนสิ่งธรรมชาติหรือสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อให้เป็นที่พึ่งทางจิตใจที่คุ้มครองตนเองเรียกว่า “การเลี้ยงผีดง” ตำนานความเชื่อดังกล่าวนั้นก็เพื่อเซ่นสังเวย โดยการเลี้ยงผีดงของชาวบ้านตําบลแม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หรือเรียกว่า การเลี้ยงดง จะจัดเป็นประจําทุกปี ในวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ โดยมีพิธีกรรมจะมีการทรงม้าขี่(ร่างทรง) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมจะได้อัญเชิญผีดงในพิธี
ปู่แสะ-ย่าแสะ ตำนานพื้นเมืองของชาวเชียงใหม่
เล่าเรื่องตํานานสืบมาแต่ครั้งพุทธกาล ณ ดินแดนอันเป็นถิ่นฐานของชน “ชาวลัวะ” ตั้งอยู่ ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำแม่ระมิงค์หรือแม่น้ำปิงในปัจจุบัน มีชื่อเมืองว่า “บุรพนคร” และทางทิศตะวันตกของเมือง มีเทือกเขาหรือทิวดอย มีชื่อเรียกว่า”ดอยคําหรือสุวรรณบรรพต” อันเป็นอาณาเขตหากินและถิ่นที่อยู่อาศัยของยักษ์พ่อแม่ลูก 3 ตน โดยยักษ์ผู้พ่อมีชื่อว่า “ยักษ์จิคําหรือปู่แสะ” ยักษ์แม่นั้นมีชื่อว่า “ยักษ์ตาเขียวหรือย่าแสะ” ส่วนยักษ์ลูกนั้นไม่ปรากฏชื่อ ยักษ์ทั้งสามนั้น ยังชีพด้วยการกินเนื้อสัตว์หรือเนื้อมนุษย์ ทําให้ทั้งมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่กันอย่างหวาดกลัว กลัวว่าจะต้องได้กลายเป็นอาหารโดนยักษ์จับกินสักวัน ทำให้การบูชาจึงถือว่าเป็นหลักธรรมที่สําคัญอีกข้อหนึ่งในทางพระพุทธศาสนาและเป็นมงคลสูงสุดอย่างหนึ่งในชีวิตของทุกคน ปู่แสะย่าแสะเป็นชื่อของยักษ์สองผัวเมียซึ่งเชื่อกันว่าเป็น ต้นเค้าบรรพบุรุษของชาวลัวะที่ได้ กลายมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่
ตามตำนานกล่าวว่าปู่แสะย่าแสะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้าและ หันมารับศีลห้าเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การที่ปู่แสะย่าแสะเคยเป็นยักษ์มาก่อนจึงขออนุญาต ต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ ความเชื่อนั้นได้นํามาสู่การฆ่าควายเพื่อเซ่น สังเวยปู่แสะย่าแสะ
การเลี้ยงผีดง พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงใหม่ทำประจำทุกปี
การทําพิธีจะเริ่มจากการนําควายดําตัวผู้ที่มีเขายาวเท่าหู จะถูกพามาเชือดที่บริเวณลานโล่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ดง โดยในพิธีกรรมจะมีร่างทรง ปู่แสะย่าแสะจะมีการกินเนื้อความสดและจะมีการแห่พระบฏ (ตามตำนานผ้าเป็นภาพของพระพุทธเจ้า ปางห้ามญาติ มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี) นำมาผูกห้อยต้นไม้ บริเวณที่มีการเลี้ยงดง เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า มีผู้เฒ่าผู้แก่เชิญวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะ และเหล่าบรรดาลูก ๆ มาเข้าร่างทรงซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ สลับกับเสียงพระสวด หลังจากที่วิญญาณปู่แสะย่าแสะเข้าร่างทรงแล้ว ร่างทรงก็จะลงมาจากหอพิธีทําเสียงครางฮือ ๆทําตาปรือ แล้วเดินไปหยิบกินเครื่องบวงสรวงตามหอต่าง ๆ
จากนั้นจะหยิบเนื้อควายที่ชาวบ้านแร่ใส่ไม้เตรียมไว้ให้ขึ้นพาดบ่ากัดกินอย่างเอร็ดอร่อย แล้วก็เอามือกวักดื่มเลือดสด ๆ ที่คั่งค้างอยู่บนโครงกระดูกควายจนปากเปรอะเปื้อนไปด้วยเลือด บางคนทนดูไม่ไหว อาเจียนออกมาเลยก็มี บางครั้งก็ขึ้นไปนั่งกินเนื้อกินเหล้าอยู่บนต้นไม้ หลังจากที่อิ่มหนําสําราญกับเครื่องเซ่นไหว้จนได้ที่แล้ว วิญญาณปู่แสะย่าแสะก็จะออกจากร่างไปเป็นอันเสร็จพิธี
ตำนานที่เล่าสืบต่อกันของการเลี้ยงผีดง
ตามตำนานที่เล่า เห็นว่าจัดขึ้นตั้งแต่สมัยอดีตกาล จนมาถึงในปัจจุบัน เป็นระยะเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งในปัจจุบันประเพณีนี้ก็ถูกจัดขึ้นในวันขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ เดือน 9 คือช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ในบริเวณเชิงชายปู่ด้านตะวันออกของ ตําบล.แม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และความเชื่อที่ว่าจะทําให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทําให้ผลผลิตทางการเกษตรดี และเป็นการปัดเป่าไม่ให้สิ่งเลวร้ายมากินบ้านกินเมือง
ก่อนที่จะเริ่มพิธีจะมีการขึ้นท้าวทั้งสี่ นั่นก็คือ พิธีบอกกล่าวแก่ท้าวจตุโลกบาต แล้วมีการสร้างปราสาท หรือ หอผีชั่วคราว ทําด้วยโครงไม้ไผ่ 12 หอ โดยหอของผีดงจะมีขนาดใหญ่สุด ในเมื่อพิธีเริ่ม ปู่อาจารย์จะทําพิธีอัญเชิญผีดงมาเป็นประธานของผีทั้งหลายมารับเครื่องสังเวย และขอให้ผีทั้งหลายช่วยกันดูแลรักษาบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข ผีดงจะเข้าทรงและอวยชัยให้พรต่าง ๆ จากนั้นร่างทรงก็จะไปหยิบอาหารจากกระทงในปราสาททั้ง 12 มากินอย่างละเล็กละน้อย ท้ายสุดแล้วร่างทรงก็จะล้มตัวลงนอนกับพื้น เมื่อผีลาทรงแล้วก็จะลุกขึ้นมามีอาการเป็นปกติเหมือนเดิม
นับว่าเป็นอีกพลังศรัทธาของชาวเชียงใหม่ ซึ่งตำนานปู่แสะย่าแสะนั้นก็เป็นเหมือนความเชื่อหนึ่ง ที่ใครก็ตามที่เชื่อในสิ่ง ๆ นั้น ก็จะกลายเป็นทั้งพลังที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพิธีกรรมทั้งหมดนั้นก็ถูกจัดทำขึ้นเพื่อบูชาทั้งตัวสัญลักษณ์และเพื่อเลี้ยงชีวิตชาวแม่เหียะและชาวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพลังศรัทธาสู่การรักษาผืนป่าที่ยั่งยืนสืบไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิเคราะห์คติความเชื่อเชิงปรัชญาในประเพณีการเลี้ยงผีดง วิทยานิพนธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ติดตามอ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ Ghosts Folder – สารคดี – แฟ้มลับเรื่องสยองขวัญที่คุณอาจไม่เคยรู้
- “ความเชื่อ” ของการขอ “หวย” ทำไมต้องพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์? - January 13, 2025
- คดีสยองขวัญ เมียฆ่าผัวตัดคอ ถลกหนัง ตัดหัวผัวต้ม ทำอาหารให้ลูกกิน - January 11, 2025
- เปิดแฟ้ม! รวมคดีฆาตกรรมหั่นศพแช่ตู้เย็นสยอง - January 9, 2025