แฝดสยาม

ไขข้อสงสัย ‘แฝดสยาม’ ทำไมอินถึงตายตามจัน?

หัวข้อน่าสนใจ

ยังตกเป็นข้อสงสัยที่ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคที่โลกพัฒนาไปไกลมากแค่ไหน แต่เรื่องของ แฝดสยาม ยังเป็นข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงื่อนไขของร่างกายหรือแม้แต่การใช้ชีวิตที่ดูแล้วยากลำบากไม่น้อย แถมเรื่องของ Privacy เองก็ด้วย นั่นทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าหาก ‘อินจัน’ เอาแต่ครุ่นคิดถึงการผ่าตัดแยกร่าง และยิ่งไม่ใช่เรื่องยากที่ต้องตัดสินใจแยกร่าง หากมีการเสียชีวิตจากคนใดคนหนึ่งก่อน วันนี้เราทีมงาน Ghostsfolder จะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ

ประวัติของแฝดสยาม อิน-จัน

อิน-จันเป็นเด็กแฝดเพศชายชาวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดในช่วงรัชกาลที่ 2 ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2354 ซึ่งมีระยะนับย้อนไปประมาณ 300 กว่าปี เรื่องของเทคโนโลยีการแพทย์หรือความเจริญก้าวหน้ายังคงมีไม่พอที่จะมาอธิบายเรื่องของพวกเขาทั้งสองคน ทำให้เรื่องราวของโด่งดังไปทั่วโลกทันทีหลังจากเดินทางสู่ทวีปอเมริกา

ไขข้อสงสัย 'แฝดสยาม' ทำไมอินถึงตายตามจัน?
ไขข้อสงสัย ‘แฝดสยาม’ ทำไมอินถึงตายตามจัน?

หลังจากที่พ่อเสียชีวิตตอนที่พวกเขายังอายุเพียง 8 ปี ชีวิตก็เกิดพลิกผันจาก โรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าเร่ที่สนใจและเปิดปากซื้อพวกเขาเพื่อเดินทางออกจากสยามไปยังอเมริกา ทั้งคู่ตระเวนออกโชว์ตัวในคณะละครสัตว์จนมีชื่อเสียง และเมื่อทั้งคู่มีชื่อเสียง ประกอบกับสัญญาของคณะละครสัตว์หมดลง แฝดสยาม อย่าง อิน-จัน จึงได้ออกมาเปิดคณะการแสดงของตัวเอง ไม่นานก็ได้แต่งงานสร้างครอบครัว อินแต่งงานกับซาราห์ ส่วนจันแต่งงานกับอะเดเลด เยตส์ ซึ่งหญิงสาวทั้งสองเป็นพี่น้องกัน

อินมีลูก 11 คน ส่วนจันมีลูก 10 คน ลงหลักปักฐานใช้ชีวิตอยู่ที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ ชานเมืองวิลล์ โบโร เคาน์ตี้วิลล์ รัฐนอร์ท แคโรไลนา และแฝดสยามก็พร้อมเปลี่ยนนามสกุลเป็น บังเกอร์ (Bunker) ถือได้ว่าทั้งคู่เป็นคนเอเชียรุ่นแรกที่ได้สัญชาติและกลายเป็นพลเมืองอเมริกา ทั้งยังเป็นการบุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะมีความสัมพันธ์ด้านการทูตอย่างเป็นทางการเลยด้วยซ้ำ

บรรยากาศบ้านเมืองของเมืองบอสตันในช่วงยุค 1840s
บรรยากาศบ้านเมืองของเมืองบอสตันในช่วงยุค 1840s

จารึกบทสุดท้ายของชีวิตแฝดสยาม

เคยมีข้อมูลระบุไว้ว่า จันเป็นคนที่มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่นและชอบดื่มสุราจนเมามาย ขณะที่เดียวกันนั้น อินกลับมีนิสัยตรงกันข้าม คือ ใจเย็น สุขุมกว่าและไม่ดื่มเหล้า อีกทั้งทั้งคู่เคยทะเลาะวิวาทจนถึงขั้นชกต่อยกันเองมาแล้วด้วย และด้วยความที่จันเป็นคนที่ติดสุราทำให้มีหลายโรคสะสม จนจันได้ล้มป่วยลงในปี พ.ศ. 2413 ด้วยอาการสโตรก ทำให้เป็นอัมพาตซีกขวาจนทำให้เขากลายเป็นนักดื่มตัวยง พอสุขภาพเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ อินผู้พี่คอยดูแลน้องทุกวินาทีของชีวิต จนในเช้าของวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2417 หลังจากพบว่าจันจากโลกนี้ไปแล้ว ครอบครัวของแฝดสยามได้ส่งข่าวไปถึงนายแพทย์โจเซฟ ฮอลลิงสเวิร์ธ (Joseph Hollingsworth) ซึ่งเป็นหมอประจำครอบครัว เพื่อให้รีบเดินทางมาผ่าตัดแยกร่าง แต่ปรากฏว่าเมื่อแพทย์ผู้นี้มาถึง อินก็หมดลมหายใจเสียแล้วภายใน 2 ชั่วโมงครึ่ง

โรเบิร์ต บังเกอร์ ลูกชายคนสุดท้องของอินนั่งบนเก้าอี้ในห้องนอนที่มีเตียงที่อิน-จันนอนเป็นครั้งสุดท้าย
โรเบิร์ต บังเกอร์ ลูกชายคนสุดท้องของอินนั่งบนเก้าอี้ในห้องนอนที่มีเตียงที่อิน-จันนอนเป็นครั้งสุดท้าย

ร่างการที่มีมูลค่าแลกมากับความเจ็บปวดของครอบครัว

นายแพทย์ฮอลลิงสเวิร์ธต้องการให้มีการชันสูตรศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ทว่าภรรยาหม้ายทั้งสองไม่เห็นด้วย ท้ายที่สุดร่างของแฝดสยามก็ได้นอนสงบอยู่ในโลงไม้วอลนัต เพื่อให้ญาติมิตรมีโอกาสกล่าวอำลาเป็นครั้งสุดท้ายตามธรรมเนียมฝรั่ง ก่อนนำไปฝังไว้ที่สุสาน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิลเลียม เอช. แพนโคสต์ (William H. Pancoast) แห่งวิทยาลัยแพทย์เจฟเฟอร์สันและคณะ ทุ่มสุดตัวเพื่อขอชันสูตรศพแฝดสยาม เพื่อศึกษาและไขข้อข้องใจเรื่องของร่างกายที่ซับซ้อนของทั้งคู่ แต่ครอบครัวของอิน-จันก็ยังคงปฏิเสธเสียงแข็ง แต่สุดท้ายก็ใจอ่อนยอมให้ชันสูตรได้ โดยมีเงื่อนไขว่า ห้ามทำความเสียหายแก่ใบหน้า ศีรษะ หรือส่วนหน้าของร่างกาย

การชันสูตรเริ่มต้นขึ้นที่บ้านของอิน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 หรือ 15 วันกับ 8 ชั่วโมงหลังการเสียชีวิต แต่ก็ไม่เสร็จสมบูรณ์ คณะแพทย์จึงขอนำร่างคู่ไร้วิญญาณนั้นเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์มัตเตอร์ (Mutter Museum) ในวิทยาลัยแพทย์แห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย

ในวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ คณะแพทย์ดังกล่าวจึงออกแถลงรายงานการชันสูตรศพ โดยมีใจความสำคัญส่วนหนึ่งว่า “ตับของแฝดสยาม ยื่นผ่านช่องเปิดของท้อง ไปสู่ท่อนเนื้อที่เชื่อมร่างของคนทั้งคู่ไว้” ผลของการชันสูตรศพยังบอกด้วยว่า จันเสียชีวิตลงด้วยอาการเลือดคั่งในสมอง ส่วนอินนั้นแม้ไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการแน่นอน แต่ก็เชื่อกันว่าเสียชีวิตจากการช็อก

อย่างไรก็ตามมีการพูดถึงเรื่องการเสียชีวิตของแฝดสยามจากเพื่อนสนิทว่า หากอินถึงแก่กรรมเนื่องจากการเสียโลหิต ทั้งนี้เพราะหัวใจสูบฉีดโลหิตไปยังร่างกายของจัน ถ้าหัวใจหยุดเต้นแล้ว เลือดจากอินจึงไม่ไหลเวียนกลับสู่ร่างของตน

ร่างการที่มีมูลค่าแลกมากับความเจ็บปวดของครอบครัว
ร่างการที่มีมูลค่าแลกมากับความเจ็บปวดของครอบครัว

นอกจากนี้ผู้ช่วยในการชันสูตรนามแนช (Nash) ก็ให้ความเห็นสนับสนุนสาเหตุการตายของอินคือการเสียเลือด ทฤษฎีหลังนี้มีความเป็นไปได้สูง เพราะมีเส้นเลือดเชื่อมระหว่างร่างกายทั้งสองจริง อย่างไรก็ตามสิ่งที่หลายคนตอบไม่ได้คือ ถ้าหากเลือดไหลไปมาระหว่างกันได้ แล้วทำไมจันเมาแต่อินกลับไม่เมา?

การวินิจฉัยที่มีเหตุและผล ทำให้คำถามที่ถูกตั้งเริ่มคลี่คลาย

นายแพทย์อีเบน อเล็กซานเดอร์ (Eben Alexander) ศัลยแพทย์ด้านระบบประสาท เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของครอบครัวบังเกอร์ เพราะเคยรักษาทายาทในครอบครัวและสนใจในชีวิตของแฝดสยาม รวมทั้งมีประสบการณ์ในการผ่าตัดแยกร่างแฝดมาแล้ว มีการให้ความเห็นว่า จากการศึกษาการเสียชีวิตของแฝดลักษณะนี้จำนวนมากมายหลายคู่ในยุคหลัง ๆ พบว่าแฝดผู้เสียชีวิตทีหลัง มักเสียชีวิตเพราะเลือดไหลไปสู่ร่างของแฝดที่เสียชีวิตไปก่อนแล้วไม่ไหลกลับ

ถ้าหากหัวใจของอินยังเต้นอยู่หลังจากจันเสียชีวิตไปแล้ว ทฤษฎีดังกล่าวเป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อที่สุด นอกจากนั้นเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กดังกล่าว ยังบอกให้เรารู้อีกว่า อินควรจะเสียชีวิตในเวลาประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง มากกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ตามบันทึก เพราะจันเสียชีวิตขณะนอนหลับ ไม่มีใครทราบเวลาแน่นอน อินอาจเสียเลือดอย่างช้า ๆ จนเสียชีวิตไปในที่สุด อาการเหน็บชาตามแขนขาของอินก่อนเสียชีวิตก็คงมีสาเหตุมาจากการเสียเลือดนี่เอง

ในส่วนของตับที่เชื่อมต่อกันนั้น เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่ไม่สำคัญนัก หากหมอหรือแพทย์ในสมัยนั้นกล้าพอที่จะผ่าตัดแยกร่าง ก็มีโอกาสสูงที่แฝดแต่ละคนจะอยู่รอดเป็นบุคคลเดี่ยวได้

หลุมศพอิน-จัน ที่เมืองเมาต์ ไอรี รัฐนอร์ทแคโรไลนา
หลุมศพอิน-จัน ที่เมืองเมาต์ ไอรี รัฐนอร์ทแคโรไลนา

บั้นปลายของครอบครัวและผลกระทบของการเป็นบุคคลที่โด่งดัง

ภรรยาหม้ายของแฝดสยามตัดสินใจเก็บร่างของคนทั้งคู่ไว้ในห้องใต้ดินประมาณ 1 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้พวกนักขโมยศพเข้ามาหาประโยชน์ ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2418 จึงย้ายไปฝังไว้ในบริเวณบ้านของจัน ซาราห์ใช้ชีวิตหม้ายหลังอินเสียชีวิตไปแล้วอีก 18 ปี ก่อนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2435 ด้วยวัย 70 ปี และที่พักพิงสุดท้ายของเธอคือฟาร์มของอิน

ส่วนอะดีเลดนั้น เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 ศพของแฝดสยามถูกกู้ขึ้น เพื่อนำไปฝังไว้เคียงข้างกับอะดีเลด ณ สุสานของโบสถ์ไวต์ เพลนส์ (White Plains Church Cemetery) ที่เซอร์รี เคาน์ตี (Surry County) ในนอร์ทแคโรไลนา อันเป็นโบสถ์ซึ่งทั้งสองบริจาคเงินช่วยสร้าง

แม้สิ้นชีวิตไปแล้ว แฝดอิน-จันก็ยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก silpa-mag.com