เปิดกรุตำรา ผีมอญ ปอบ อสูรกายในตำนานไทย แท้จริงแล้วคือผีเดียวกันไหม? 

เปิดกรุตำรา ผีมอญ ปอบ อสูรกายในตำนานไทย แท้จริงแล้วคือผีเดียวกันไหม? 

หัวข้อน่าสนใจ

ย้อนกลับไปในอดีตก่อนที่เมืองไทยจะกลายมาเป็นสังคมเมืองพุทธเฉกเช่นปัจจุบัน คนไทยโบราณเคยนับถือ “ผี” มาก่อน จนเรียกได้เต็มปากว่าคนไทยใกล้ชิดกับความเชื่อเรื่อง “ผี” มากกว่าศาสนาเสียอีก ซึ่งหนึ่งในผีหรือ อสูรกายในตำนานไทย ที่อยู่คู่วัฒนธรรมไทยมายาวนานอย่าง “ผีปอบ” ที่เรามักจะคุ้นเคยกันดีว่ามันคือผีที่มักปรากฏให้เห็นทางภาคอีสาน อีกหนึ่งผีที่คล้ายกันอย่าง “ผีมอญ” ซึ่งหากใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง “ธี่หยด ภาค 1” คงจะเคยได้ยินคำว่า ผีมอญ หมอก ผีปอบ สิ่งเร้นลับที่เข้าสิงสู่มนุษย์ กัดกินอวัยวะภายในจนคนนั้นถึงแก่ความตาย  

มีผู้คนในโซเชียลตั้งกระทู้ถกประเด็นเรื่องนี้กันเป็นจำนวนมากว่า สรุปแล้วมันคือผีชนิดเดียวกันหรอ ผีในเรื่องธี่หยดคือปอบที่อพยพมาพร้อมกับชาวมอญใช่ไหม หากใครสนใจประเด็นนี้ วันนี้ Ghostsfolder จะพาไปรู้จักกับ “ผีมอญ” และ “ผีปอบ” อสูรกาย ในตำนานไทย ลึกลับสุดสะพรึงที่อยู่คู่เมืองไทยมานานกว่า 500 ปี  

เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับปอบ >> ผีปอบพ่อใหญ่ทอง อภิอมตะผีร้ายกินคน

อสูรกายในตำนานไทย ผีมอญ วิญญาณบรรพบุรุษที่ปกปักรักษาวงศ์ตระกูล  

การย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยของชาวมอญมีมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาพร้อมกับประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงผี ชาวมอญมีประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่ไม่สามารถสืบสาวได้ว่าเป็นผู้ใด พวกเขาเคารพบูชาผีบรรพบุรุษหรือที่เรียกว่า “ปะโน่ก” มีความหมายว่า “พ่อปู่” ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ อสูรกายในตำนานไทย  ซะทีเดียว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือหนึ่งในความเชื่อที่อยู่คู่กับบ้านเรามาตั้งแต่ยุคสุโขทัยเลยทีเดียว 

การประกอบพิธิกรรมเซ่นไหว้ผีมอญ 
การประกอบพิธิกรรมเซ่นไหว้ผีมอญ 

ตั้งแต่อีตชาวมอญจะสร้าง “ห้องผี” เอาไว้ภายในบ้าน ภายในห้องผีจะมีเสาเอกหรือเสาโทของบ้าน เรียกสิ่งนั้นว่า “เสาผี” ตรงบริเวณเสาผีจะเป็นพื้นที่เก็บห่อบรรจุหรือหีบเอาไว้เก็บ “ผ้าผี” เจ้าของบ้านจะต้องดูแลรักษาผ้าผีให้สะอาดเรียบร้อย ไม่มีรอยขาด เนื่องจากเชื่อกันว่าผ้าผีคือสัญษณ์ตัวแทนของปะโน่ก ไม่ให้หยิบมาใช้ แต่จะหยิบมาใช้เฉพาะการประกอบพิธีรำผีเท่านั้น  

ชาวมอญจะเก็บรักษาผ้าผีไว้บริเวณเสาผีภายในบ้าน 
ชาวมอญจะเก็บรักษาผ้าผีไว้บริเวณเสาผีภายในบ้าน 

ห้องผีถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ต้องมีความระมัดระวัง ห้ามคนนอกกตระกูลเข้าไปในพื้นที่ ห้ามหญิงที่ยังไม่แต่งงานกับลูกชายบ้านนี้เข้ามานอนด้วยกัน (แม้จะเป็นแฟนกัน แต่ถ้ายังไม่แต่งงานก็ถือว่าเป็นคนนอกตระกูล) และห้ามหญิงมีครรภ์นั่งพิงเสาผี มิเช่นนั้นจะถือว่า “ผิดผี” จะเกิดอาเพศทั้งกับตัวผู้กระทำและตัวเจ้าของบ้าน  

การเซ่นไหว้สัตว์ประจำตระกูล เช่น ผีเต่า ผีงู 
การเซ่นไหว้สัตว์ประจำตระกูล เช่น ผีเต่า ผีงู 

การเลี้ยงผีมอญจะใช้วิธีสืบทอดผ่านทางลูกชายคนเล็กของตระกูล ลูกชายคนเล็กจะต้องเป็นผู้รับผ้าผีมาเก็บรักษาและดูแลสืบทอดกันไป โดยจะต้องรักษาธรรมเนียมปฏิบัติและประเพณีที่สืบทอดกัน เมื่อมีพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านช่วงชีวิต เช่น งานแต่ง งานบวช งานศพ จะต้องบอกกล่าวปะโน่กทุกครั้ง และที่สำคัญจะต้องระวังสิ่งต้องห้ามที่อาจทำให้เกิดการผิดผีได้ เช่น ห้ามหญิงชายที่ไม่ใช่สามีภรรยานอนเตียงเดียวกัน ห้ามนำตุ๊กตาเข้ามาภายในบ้าน (ข้อนี้ต้องระวังมาก) เพราะชาวมอญเชื่อกันว่าตุ๊กตาคือที่สิงสถิตของวิญญาณร้าย  

ปอบ อสูรกายในตำนานไทย ที่พร้อมกัดกินจิตวิญญาณและร่างกาย  

“ปอบ” อสูรกายในตำนานไทย ที่มีความน่าสยดสยอง ลึกลับ อยู่คู่กับตำนานความเชื่อพื้นบ้านของไทยมายาวนาน แม้แต่ในปัจจุบันที่โลกเราขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความเจริญเข้าถึงทุกหย่อมหญ้าก็ตาม ก็ยังพบเห็นข่าวการจับปอบในท้องที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคอีสานจะเห็นได้บ่อยที่มีพระและชาวบ้านในพื้นที่ใช้ข้องช้อนปอบ หรือแม้แต่ภาพในละครหรือภาพยนตร์ที่มักคุ้นชินกับปอบหยิบมือ จกกินเครื่องในตับไตไส้พุง ความจริงแล้วปอบคือวิญญาณชั่วร้ายที่ถูกเลี้ยงดูโดยคนที่มีวิชาอาคมหรือคนที่เล่นของ คำว่า “ของ” ก็หมายถึง “ปอบ” นั่นเอง   

อุปกรณ์จับปอบที่ยังคงพบเห็นแถบภาคอีสาน 
อุปกรณ์จับปอบที่ยังคงพบเห็นแถบภาคอีสาน 

ต้นกำเนิดที่แท้จริงของปอบยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่าจุดเริ่มต้นมาจาก “ว่านผีปอบ” หากบ้านไหนปลูกพืชชนิดนี้ไว้ในบ้าน จะเกิดเหตุการณ์ประหลาด เช่น วัว ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงถูกกัดกินไส้ในจนเกลี้ยง แต่ขณะที่ความเชื่อทางภาคอีสานกลับเชื่อกันว่า ปอบเกิดจากคนที่มีวิชาอาคมเล่นของ แต่ไม่สามารถทำตามกฎเกณฑ์ หรือทำผิดข้อห้าม หรือใช้วิชาอาคมไปในทางผิด เรียกว่า “คะลำ” เมื่อนั้นของจะเข้าตัวแล้วกลายเป็นปอบในที่สุด  

ความน่าสยดสยองของเจ้า อสูรกายในตำนานไทย ตัวนี้ต่างจากในละครหรือภาพยนตร์ไทยในอดีต เช่น บ้านผีปอบ ปอบผีฟ้า เพราะมันไม่ได้ปรากฏให้เห็นเป็นตัวตน มันคืออำนาจลึกลับไร้ตัวตน แต่อาศัยการแฝงกายเข้ามาในร่างมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงอายุราว ๆ 13 – 20 ปีมีโอกาสโดนปอบเข้าง่ายสุด เมื่อมันเข้ามาแฝงในกายแล้ว ผู้ที่ถูกสิงจะแสดงอาการแปลก ๆ แตกต่างกันไป บ้างก็กรีดร้องเป็นบ้าเป็นหลัง บ้าก็นั่งก้มหน้าก้มตา ไม่พูดไม่จากับใคร ไม่สุงสิงกับใคร  

ผู้ที่ถูกสิงจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าเป็นในทางวิทยาศาสตร์อาการของโรคจะคล้ายกับโรคมาลาเรีย บ้างก็ดูคล้ายกับโรคมะเร็ง แต่ในทางความเชื่อชาวบ้านมักเชื่อกันว่าคนนั้นโดนปอบเข้าสิง ท้ายสุดก็จะเสียชีวิต แม้ว่าปอบจะออกจากร่างแล้วก็ตาม  

ปอบ วิญญาณชั่วร้ายอาศัยแฝงกายกัดกินภายในมนุษย์ 
ปอบ วิญญาณชั่วร้ายอาศัยแฝงกายกัดกินภายในมนุษย์ 

ปอบมีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีความน่ากลัวแตกต่างกันยังไง  

“ปอบ” จัดว่าเป็น อสูรกายในตำนานไทย ประเภทผีร้ายที่มีพลังอำนาจทั้งในแง่การทำร้ายร่างกายและควบคุมจิตใจ แต่ไม่ใช่ว่าปอบทุกประเภทจะสามารถทำแบบเดียวกันได้ พลังอำนาจและขอบเขตของมันขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นปอบชนิดไหน แน่นอนแหละว่าความน่ากลัวก็ต่างกันด้วย  

ปอบทั่วไป  

ปอบระดับล่างสุดที่มักอาศัยสิงสู่ร่างคน ตัวมันไม่ได้มีพลังอำนาจแกร่งกล้านัก มันจะกัดกินอวัยวะภายในของคนที่มันสิง แต่เมื่อคนที่มันสิงตาย ตัวมันก็จะออกจากร่าง แล้วไปหาร่างใหม่หรืออาจจะสลายหายไปด้วย  

ปอบมนต์  

เกิดจากคนที่มีวิชาอาคม คนเล่นของ หรือไสยดำ เมื่อเล่นของแล้วไม่สามารถ “คะลำ” หรืออาจจะใช้วิชาไปในทางผิด ของนั้นจะเข้าตัว แล้วคนนั้นจะกลายเป็นปอบ  

ปอบเชื้อ  

เกิดจากการเลี้ยงผีปอบเพื่อปกปักรักษาตระกูลหรือหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มักเป็นวิญญาณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ใช้วิธีสืบทอดผ่านทางทายาทเพศหญิง เช่น เมื่อพ่อแม่เป็นปอบ ลูกผู้หญิงจะต้องสืบทอดความเป็นปอบไปด้วย  

ห่าก้อมหรือปอบลิ้นดำ  

ห่าก้อม เป็นคำเรียกของชาวอีสานที่พูดถึง “พญาปอบ” หรือ “ปอบลิ้นดำ” ปอบขั้นสูงที่มีพลังอำนาจมหาศาล แม้กระทั่งพระ หมอผีก็ยังเอาไม่อยู่ ห่าก้อมเกิดจากคนที่ฝึกวิชาอาคมระดับสูงจนมีพลังแกร่งกล้า หากทำผิดประเพณีปฏิบัติจนของเข้าตัว จะกลายเป็นวิญญาณชั่วร้ายพลังอำนาจขั้นสูง เพียงแค่มันเดินผ่านคนที่อยากจะกิน คนนั้นก็สามารถล้มลงถึงขั้นเสียชีวิตตรงนั้นได้เลย  

ห่าก้อม พญาปอบสุดร้ายกาจที่ปรากฎในภาพยนตร์ดัง 
ห่าก้อม พญาปอบสุดร้ายกาจที่ปรากฎในภาพยนตร์ดัง 

สรุป อสูรกายในตำนานไทย “ผีมอญ” กับ “ปอบ” ตำนานความลึกลับที่ต่างกันสิ้นเชิง  

ชื่อเสียงของปอบมักปรากฏให้เห็นกันบ่อยใน อสูรกายในตำนานไทย โดยเฉพาะแถบภาคอีสาน แต่ความจริงยังคงพบเห็นคำบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความน่ากลัวของวิญญาณร้ายที่มีลักษณะคล้ายปอบในหลายภูมิภาคของไทย เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง หรือแม้แต่ในหงสาวดีของประเทศเมียนมาก็มีความเชื่อคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชุมชนที่ชาวมอญย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยก็พบเห็นความเชื่อลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่แปลกใจที่หลายคนจะเข้าใจผิดคิดว่าผีมอญก็คือผีปอบจากทางฝั่งมอญ แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย  

ส่วนที่เหมือนกันมีเพียง “ปอบเชื้อ” ที่มีลักษณะการเลี้ยงผีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับการเลี้ยงผีมอญของชาวไทยเชื้อสายมอญเท่านั้น แต่ส่วนอื่นไม่มีอะไรเหมือนกันเลย “ผีมอญ” คือวิญญาณบรรพบุรุษที่คอยดูแลรักษาตระกูล ถึงแม้จะมีการผิดผี แต่ก็สามารแก้เคล็ดโดยการรำผีเพื่อขอขมาได้ ในขณะที่ปอบคือ อสูรกายในตำนานไทย ผู้ชั่วร้ายที่สามารถทำร้ายร่างกายและจิตใจจนถึงแก่ชีวิตได้เลย